Email Marketing หรือการทำการตลาดผ่านอีเมล ถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับกลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุดในการโปรโมตสินค้าและบริการ, สื่อสารกับลูกค้า และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของคุณ
โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก ๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32 บาท) ที่คุณจ่ายไปกับการทำการตลาดผ่านอีเมล จะสามารถทำผลตอบแทนได้สูงสุดระหว่าง 39- 51 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,248-1,632 บาท) เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะประสบความสำเร็จลองนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้กับแคมเปญ Email Marketing ของคุณ
วิธีการที่ได้ผลคือการทำให้สมาชิกรู้สึกเป็นคนพิเศษ ด้วยการสร้างสรรค์ข้อความให้เข้ากับข้อมูลของลูกค้า (Customer Data) แต่ละคน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า Personalization เหมือนเช่นที่ Amazon ของ Jeff Bezos นำมาใช้กับลูกค้าของตนเอง
โดยข้อความที่ส่งหาลูกค้าหรือสมาชิกจะระบุชื่อไว้อย่างชัดเจน และยื่นข้อเสนอที่สอดคล้องกับประวัติการซื้อสินค้าที่ผ่านมาของลูกค้ารายนั้น ๆ ส่งผลให้ยอดขายสินค้ากว่า 35% จากทั้งหมดของ Amazon มาจาก Email Marketing
ทั้งนี้ การใส่ชื่อลูกค้าช่วยเพิ่มอัตราการเปิดอ่านอีเมลสูงขึ้นถึง 16% ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า 70% ของแบรนด์ที่ทำการตลาดผ่านอีเมล ละเลยในการระบุชื่อลูกค้า นั่นหมายความว่าหากคุณนำวิธีการ Personalization มาใช้ ก็จะทำให้โดดเด่นกว่าคู่แข่งเจ้าอื่นได้นั่นเอง
นอกเหนือจากการใส่ชื่อลูกค้าแล้ว ยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่จะช่วยคุณได้!
นอกจากเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกแล้ว Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มสมาชิกตามฐานข้อมูลที่ใช้เคยบริการ ถือเป็นอีกวิธีที่นักการตลาดนิยมใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 เพราะช่วยให้สามารถส่งสารให้ตรงกับสมาชิกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และยังตั้งโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้แม่นยำขึ้น หรือจะนำไปใช้พัฒนาบริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายก็ได้เช่นกัน
โดย Segmentation สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านซอฟท์แวร์ CRM (Customer Relation Management) ซึ่งตัวอย่างในการแบ่งกลุ่มสมาชิก ได้แก่
- จัดกลุ่มตามประเภทอุตสาหกรรม สำรวจกลุ่มลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หากส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ได้ตรงกับสินค้าหรือบริการของคุณ โอกาสที่ลูกค้าจะตอบสนองต่อแคมเปญ Email Marketing ก็จะสูงกว่าการเสนอขายสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
- จัดกลุ่มจากขนาดของบริษัท หรือที่รู้จักกันว่าเป็นการตลาดแบบ Account-Based ซึ่งเป็นการทำการตลาดแบบเจาะจงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยส่วนมากมักใช้กับการขายผลิตภัณฑ์ในระดับองค์กร เช่น ขาย Digital Solution ให้กับองค์กรระดับประเทศ
- จัดกลุ่มจากวงจรการขาย เพราะลูกค้าที่เพิ่งจะรู้จักสินค้ามักจะไม่พร้อมรับการเสนอขายแบบฮาร์ดเซลล์ จึงควรแนะนำสินค้าให้ลูกค้ารู้จักเป็นอย่างดีก่อน แต่หากเป็นช่วงมี่ลูกค้าพร้อมซื้อสินค้าก็จะตอบสนองต่อแคมเปญการตลาดจำพวกข้อเสนอทดลองใช้ฟรี หรือเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์
ทุกวันนี้ มีข้อความอีเมลมากถึง 61% ที่ถูกเปิดอ่านผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นหากออกแบบให้อีเมลสามารถอ่านได้ง่าย ๆ ซึ่งมีรายงานว่ายอดสั่งซื้อสินค้าจากมือถือสูงกว่าการสั่งซื้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 4 เท่าเลยทีเดียว และมีถึง 55% ผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่จะทำการสั่งซื้อหลังได้รับอีเมลที่แจ้งเรื่องโปรโมชั่นต่าง ๆ
ดังนั้น จึงต้องใส่ใจเรื่องการแสดงผลข้อความและรูปภาพต่าง ๆ เมื่อเปิดอ่านจากสมาร์ทโฟน ทั้งหัวข้ออีเมลที่กระชับ ขนาดในการแสดงผลที่เข้ากับมือถือรุ่นต่าง ๆ รวมถึงขนาดรูปภาพ และ ปุ่ม Call to Action ที่ต้องการให้สมาชิกดำเนินการสั่งซื้อทันทีด้วย
การทำ A/B Testing เป็นการแบ่งกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบรูปแบบขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อดูว่าอีเมลการตลาดแบบใดได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน จึงต้องทำ A/B Testing เพื่อจะได้ช่วยคำนวณผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อปล่อยแคมเปญออกไปแล้ว
นอกจากทดสอบเรื่องหัวข้อ (Subject) ของอีเมลแล้ว การทำ A/B Testing ยังสามารถทดสอบหัวข้อเหล่านี้ได้เช่นกัน
- Email Address – แค่ชื่อผู้ส่งก็ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าอยากหรือไม่อยากเปิดอีเมลอ่านแล้ว ซึ่ง จากการศึกษาพบว่าชื่อผู้ส่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้อ่านเปิดดูเนื้อหาในอีเมล จึงควรทดสอบเปรียบเทียบ ทั้งการส่งชื่อผู้ส่ง การส่งชื่อผู้ส่ง + ชื่อบริษัท หรือการส่งโดยใช้ชื่อของ CEO บริษัท
- ข้อความธรรมดา VS HTML – ทดสอบการส่งข้อความทั้งสองแบบ ซึ่งโดยปกติแล้วในการทำ Email Marketing มักจะนิยมใช้การส่งข้อความแบบ HTML มากกว่าข้อความธรรมดาๆ เพราะมีการออกแบบให้มีความน่าสนใจ และมีรูปประกอบด้วย
- อีเมลสั้น VS อีเมลยาว : ลองทดสอบดูว่าข้อความเชิญชวนสั้น ๆ หรืออีเมลที่มีรายละเอียด แบบใดจะตรงกับวัตถุประสงค์ของแคมเปญการตลาดของคุณมากที่สุด เพื่อปรับให้ตรงกับความสนใจของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
อีเมลที่กระตุ้นให้ผู้รับเปิดอ่านมากที่สุดคืออีเมลต้อนรับ ขอบคุณ หรืออีเมลที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม อาทิ อีเมลยืนยันคำสั่งซื้อ หรืออีเมลใบเสร็จสินค้าที่สั่งซื้อ ซึ่งหากใช้ได้ถูกประเภทก็จะส่งผลดีต่อการทำการตลาดผ่านอีเมลด้วยเช่นกัน
- Activation – หากกลุ่มเป้าหมายเปิดใช้งานบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ใช้งานภายใน 7 วัน คุณสามารถสร้างแคมเปญ Activation ขึ้นมา ด้วยการส่งอีเมลตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อแนะนำวิธีการใช้งาน โดยมีวิดีโอสาธิตขั้นตอนต่าง ๆ หรือส่งคำเชิญเพื่อสอนวิธีการใช้งานแบบตัวต่อตัว
- Win-Back – การดึงลูกค้ารายปีที่ใกล้หมดอายุ หรือผู้ที่ไม่ได้กลับมาใช้งานเกิน 3 เดือนให้ต่อสมาชิกรายปี ด้วยอีเมลแบบ Win-Back ที่ส่งข้อความตอบรอบอัตโนมัติ เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้ากลับมาต่ออายุการใช้งานพร้อมกับเสนอสินค้าใหม่ที่มีจะวางขายในอีก 6 เดือนข้างหน้า
- Surprise – ลูกค้าประจำคือกุญแจแห่งความสำเร็จในการทำการตลาดด้วย Email Marketing จึงควรมีการแจกของรางวัลฟรีให้ลูกค้าในบางโอกาส เพื่อทำเซอร์ไพรส์ลูกค้า ด้วยอีเมลแบบ Surprise ที่ลงทุนเพียงเล็กน้อยแต่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า