4 วิธีในการสร้าง Video Content จากภาพนิ่ง
4 วิธีในการสร้าง Video Content จากภาพนิ่ง
ปัจจุบันการใช้ภาพแทนการสื่อสารเชิงพานิชย์ กลายเป็นวัฒนธรรมทางสังคมที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และที่ได้รับความนิยมมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ คือ รูปแบบวิดีโอที่ใช้เวลาในการนำเสนอภาพได้สูงสุดถึง 24 เฟรมต่อวินาที ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวด้วยเนื้อหาที่ไม่ใช่การแสดงสด อย่างที่นิยมในปัจจุบัน แต่ถือเป็นวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามอย่างหลากหลายในการนำเสนอ Video Content จากภาพนิ่ง พร้อมอยู่บนพื้นฐานในเรื่องค่าใช้จ่ายอย่างมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ที่ไลฟ์สไตล์ตรงเป้าหมายที่ต้องการ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและยังสร้างความแตกต่างจากการใช้วิธีการในการนำเสนอวิดีโอในรูปแบบเดิมๆเหมือนที่ผ่านมา
เรามีเทคนิคและคำแนะนำในการนำเสนอ Video Content จากภาพนิ่งที่แสนเรียบง่าย มาต่อยอดด้วยการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและน่าสนใจในรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เพิ่มความซับซ้อนอย่างน่าประทับใจ ด้วย 4 วิธีในการสร้าง Video Content จากภาพนิ่ง ที่สามารถสร้างแรงจูงใจได้อย่างน่าเหลือเชื่อ !!!
1. การแสดงภาพสไลด์ (Photo Slideshow)
การแสดงภาพสไลด์ถือเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการสร้าง Video Content เป็นการสร้างสรรค์จากการนำเสนอด้วยการเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีอย่างมีระดับด้วยความเรียบง่าย ด้วยการใช้ขั้นตอนของกราฟิกภาพเคลื่อนไหวเข้ามาช่วยในการนำเสนอ ซึ่งสามารถสร้างความโดดเด่นจากภาพนิ่งช่วยในเรื่องของความสะดวกสบายในเรื่องเวลาการจัดทำ Video Content สามารถใช้การจัดการที่รวดเร็วจากภาพถ่ายที่มีอย่างหลากหลาย โดยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญอย่างมืออาชีพหรือความรู้ทางเทคนิคมากนัก ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
2. Timelapse (Photo Timelapse)
Timelapse คือ การบันทึกภาพช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยการสร้างภาพเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ แต่การถ่ายทำ Video Content รูปแบบ Timelapse ต้องใช้เวลาและความอดทนสูงมากทีเดียว
การแสดงภาพสไลด์เป็นเรื่องง่าย ด้วยความเรียบง่ายอาจสร้างความจำเจให้เกิดขึ้นได้ สำหรับการสร้างภาพอย่างมีคุณภาพและเพิ่มเทคนิคแบบภาพไดนามิก อย่างรูปแบบ Timelapse ถือเป็นขั้นตอนต่อไปในการนำเสนอ Video Content จากเพียงการแสดงภาพสไลด์แบบง่ายๆ เพื่อสร้างความน่าตื่นเต้น สร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหวอย่างมีสีสันและได้ความรู้สึกเพิ่มเติมมากขึ้นอีกระดับ เป็นเรื่องการใช้ภาพรูปแบบ Timelapse เพื่อเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการใช้ภาพการเคลื่อนไหวแบบ animation จากความสามารถของมนุษย์เข้ามาช่วยเพิ่มคุณค่าให้ Video Content มีความสดใหม่ยิ่งขึ้น
3. พิกซิเลชั่น (Pixilation)
Pixilation คือ การนำนักแสดงจริงมาขยับแทนวัตถุต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ก้ำกึ่งระหว่างภาพความจริงกับโลกที่บิดเบือนอย่างเหนือจริงด้วยการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างเหนือธรรมชาติ
สำหรับรูปแบบภาพ Pixilation เป็นการนำเสนอภาพการเคลื่อนไหวแบบ animation ซึ่งอาจดูแตกต่างจากรูปแบบอื่นๆเชิงพานิชย์และอาจยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ที่มีความน่าสนใจ โดยมีลักษณะที่โดดเด่นคือ เป็นการถ่ายภาพที่ใช้ความสามารถของมนุษย์เป็นตัวละครในการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการนำเสนอที่แตกต่างด้วยการใช้นักแสดงที่มีชีวิตจริงมาใช้ในการสร้างเนื้อหาภาพการเคลื่อนไหวให้ Video Content มีความสมจริงอย่างเป็นธรรมชาติ
Pixilation เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้าง Video Content และสร้างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่สามารถควบคุมและมีประสิทธิภาพในการโพสต์ Video Content เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่สมจริงได้มากขึ้นกว่ารูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาก่อนหน้านี้
4. ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด (Stop-Motion)
Stop-Motion คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพให้ต่อเนื่องกันด้วยรูปแบบการถ่ายภาพความเร็วสูง ประกอบกับการใช้เทคนิคในการถ่ายภาพ การวาดรูป หรือจากรูปถ่ายในการเคลื่อนไหวแบบค่อยๆขยับ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ที่เรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือการวางเรียงสิ่งของแล้วนำเสนอออกมาเป็นเรื่องราวของภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง
Stop-Motion เป็นภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด ที่มีการสร้างสรรค์ที่หลากหลายด้านความคิดและการนำเสนอ Video Content ในรูปแบบเรื่องราวในเชิงพานิชย์ โดยไม่ต้องใช้ความสามารถของมนุษย์ เป็นทางเลือกที่สามารถนำเสนอได้อย่างสารพัดนึกและจินตนาการแห่งการสร้างสรรค์ด้านไอเดียอย่างไลฟสไตล์ โดยไม่ต้องใช้เทคนิคในการเคลื่อนไหวที่ยุ่งยาก เป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด เพื่อเป็นการสื่อสารที่ดีให้ออกมาในรูปแบบเช่นเดียวกับชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์ และการตกแต่ง Video Content ให้ออกมาอย่างสวยงามตามที่ต้องการ
รูปแบบ Video Content เป็นการนำเสนอจากภาพนิ่ง การสร้างสรรค์ที่สามารถควบคุมได้ เพื่อให้สอดคล้องด้านศิลปะและเนื้อหาด้านการสื่อสารทางการตลาดแบบมัลติมีเดีย เป็นรูปแบบที่ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน เป็นการเปิดกว้างในการนำเสนอด้านความคิดสร้างสรรค์ในการประยุคต์และนำมาใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบ Video Content อย่างเหมาะสมกับงานของคุณได้อย่างสมบูรณ์