ตัวแอปนี้จะให้คุณสร้างวิดีโอสั้นๆในแนวตั้ง ซึ่งไม่เหมือนกับการสร้างคอนเทนท์ด้วยตัวเองของคนทั่วไปเหมือนช่องทางอื่นๆ เพราะแอปนี้จะมี เต้น , ลิปซิ้งค์ , และโดยเฉพาะฟิลเตอร์เสมือนจริงต่างๆซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนใช้แอปเป็นอย่างมากในการแสดงออกความเปนตัวตนผ่านฟิลเตอร์ เอฟเฟ็คพวกนี้ , TIK TOK ยังเป็นผู้ริเริ่มเทรนด์การสร้างคอนเทนท์แบบวิดีโอสร้างสรรค์ซึ่งคนใช้สามารถหลงไหลไปกับการสร้างคอนเทนท์ได้
– จุดเริ่มต้นของรุ่นต่อไป
คนใช้ TIK TOK ส่วนมากจะอยู่ในช่วง GEN Z (เกิดหลังปี 1996) ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และชาว millenials เกิดประมาน 1981-1996 ซึ่งอาจจะเปนผู้ปกครองของ GEN Z นั่นเอง ทำให้TIK TOKเป็นอีกแอปทีมีผู้ใช้หลากหลายวัย สามารถพบปะกับคนใหม่ๆ เพื่อนๆ ผู้คนหลากหลายวัย จากสังคมนี้ได้
– ผู้ใช้ได้เจอเทรนด์หรือสิ่งใหม่ๆ
ในสังคม TIK TOK มีคอนเทนท์ เครื่องมือสร้างคอนเทนท์ แชลเลนจ์ แฮชแทคใหม่ๆมากมาย สามารถทำให้คนเป็นคนดังได้จากการสร้างคอนเทนท์ต่างๆได้ในแอปนี้ และตัวแอปยังสามารถแนะนำวิดีโอที่คาดว่าผู้ใช้จะสนใจได้อีกด้วย และช่วยให้แบรนด์ต่างๆโตไวด้วยการมองเห็นและเข้าถึงที่สูงสุด สิ่งที่ทำให้ TIK TOK น่าสนใจกว่าแอปอื่นๆคือผู้ใช้สามารถสร้างคอนเทนท์ที่สร้างสรรค์ได้มากมายหลายแบบ โดยใช้ เอฟเฟ็คต่างๆที่ทางแอปมีให้ การสร้างแฮชแทคให้เป็นกระแสปากต่อปากในโลกออนไลน์ได้
2. Reservation buying (การจองโฆษนา TikTok) VS Ad auction (ประมูลโฆษนา)
TIK TOK สามารถทำอะไรได้หลากหลายรวมถึงการลงโฆษณา TIKTOK ด้วย พวกโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆสร้างมาเพื่อการเข้าสังคมแล้วค่อยปรับเป็นเพื่อการโฆษณา แต่แอปนี้สร้างมาเพื่อการเข้าสังคมและการโฆษณาตั้งแต่ต้น จึงออกแบบมาเพื่อการโฆษณาทั้งแบบจอง (Reservation buying) และประมูลโฆษนา (Ad auction)
เป็นโฆษณาแห่งอนาคต ผสมความจริงกับโลกสเหมือนจริง มีทั้งแบบ 2D และ 3D . TIK TOK จะสร้างประสบการณ์โลกเสมือนจริง แบรนด์ต่างๆสามารถใส่เอฟเฟคของตัวเองได้ ในแบบ 2D 3D หรือแบบ AR อย่างเช่นสร้างเอฟเฟคสินค้าขึ้นมาทำให้เวลาถ่ายแล้วเหมือนผู้ใช้ถือสินค้าอยู่ในมือ วางไว้บนโต๊ะ การโฆษณาแบบนี้จะทำให้ลูกค้าตื่นเต้นและกลายเป็นกระแสได้อย่างรวดเร็วแถมยังใช้ได้ทั่วโลกอีกด้วย
1.Cost Per Click (CPC) การเสนอราคาแบบนี้คือการเสนอราคาที่ต้องจ่ายต่อการคลิก1ครั้ง โดยผู้จ้างจะเสียเงินต่อเมื่อมีการคลิก1ครั้ง โดยระบบจะโพสโฆษณาของคุณให้กับกลุ่มคนที่โอกาสจะคลิกดูโฆษณาคุณมากที่สุด
2.Optimized Cost Per Click (oCPC) จะคล้ายๆกับแบบแรกแต่ว่าจะซับซ้อนกว่าแบบแรกเพราะว่าจะไม่นับการคลิกแต่นับการจากโหลดแอพหรือว่ายอดซื้อสินค้าหรือกดไลค์หรือต่างๆ(result,conversion)และคุณเป็นคนกำหนดว่าต้องการจ่ายประมานไหน
3.Cost Per One Thousand Impressions (CPM) ถ้าคุณไม่ได้เจาะจงเป้าหมายมากนักแต่เน้นปริมาณผู้ใช้ที่จะเข้าถึงโฆษณา CPM เป็นตัวเลือกที่ดีเพราะว่าทางTIK TOKจะเน้นการโพสโฆษณาให้เข้าถึงผู้คนมากที่สุดภายในงบของคุณ
4.Cost Per View (CPV) เหมาะกับโฆษณาที่เป็นวิดีโอมากที่สุด คิดค่าโฆษณาต่อการชมวิดีโอหนึ่งครั้ง ส่วนมากแล้วจะใช้กับ Platform วิดีโอ เช่น Youtube, Facebook video , TIK TOK คิดเงินเมื่อผู้ใช้ดูวิดีโอจนครบเวลาที่ Platform เหล่านั้นกำหนด โดยทางTIK TOKจะพยายามให้ค่าใช้จ่ายอยู่ภายในงบที่ท่านกำหนด
AD SPECS & UPLOADING OPTIONS (รูปแบบโฆษณาและตัวเลือกการดาวโหลด) ทางระบบTIK TOK จะสามารถโพสโฆษณาได้แค่ในรูปแบบวิดีโอเท่านั้น
Uploading Your Creative (การอัปโหลดคอนเทนท์สร้างสรรค์ของคุณ) 1.อัพจากคอมพิวเตอร์โดยตรง 2.อัพจากคลังในTIK TOK โดยในคลังจะมีวิดีโอต่างๆอยู่ในคลังสามารถเลือกมาอัพได้เช่นเดียวกัน 3.สร้างวิดีโอด้วยตัวเองด้วยเครื่องมือสองอย่างนี้ 3.1ใช้ video template – การสร้างวิดีโอจากภาพหรือรูปแบบที่มีอยู่แล้ว 3.2ใช้ smart video – เป็นFunctionซึ่งจะช่วยวิเคราห์การตัดแต่งวิดีโอเหมือนมือโปรทำ
1. คุณต้องมีบัญชี Google Tag Manager 2. คุณต้องฝัง Google Tag Manager SDK ลงในหน้า Landing Page 3. เลือก “ ติดตั้งรหัสพิกเซลโดยเครื่องมือของบุคคลที่สาม” แล้วคลิก “ ถัดไป” 4. คลิก “เชื่อมต่อกับบัญชี Google” เพื่อเชื่อมต่อบัญชี Google Tag Manager ของคุณ 5. เลือกบัญชี Google Tag Manager คอนเทนเนอร์และพื้นที่ทำงาน (Google Tag Manager account, container, and workspace) จากนั้นคลิก “ ถัดไป” 6. เมื่อคุณเชื่อมต่อ Google Tag Manager สำเร็จแล้วให้ดาวน์โหลดและติดตั้ง TikTok Pixel Helper
1.4 Current Trends ในเนื้อหาของเรา ควรมีการใส่กระแสนิยมที่มีอยู่ในTikTok ณ ช่วงเวลานั้นเข้าไปด้วย หาจุดที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ในเนื้อหาของเราเข้าไปผสมได้ เพื่อดึงดูดผู้ชม โดยเฉพาะผู้ชมใน Gen Z จะยิ่งให้ความสนใจกับกระแสนิยมเป็นอย่างมาก
1.5 Popular Culture ควรสอดแทรกวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมไว้ในแนวคิดที่จะใช้สร้างเนื้อหา
1.6 Post Comments ใช้ความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย มาปรับเปลี่ยนแนวคิดและตัวสินค้า
1.7 Clear CTA ต้องมีการ Call to action ที่ชัดเจน ผ่านการใช้คำ เช่น “คลิกที่ Link ใน Bio ของเรา…” เพื่อกระตุ้นให้คนที่สนใจในเนื้อหาแล้ว ไม่ปล่อยผ่าน แต่มากดติดตาม รับข้อมูลข่าวสารผ่านเนื้อหาของเราต่อไป
การทำงานร่วมกับ Influencer
1.หา Influencer ที่เข้ากับสินค้า เข้ากับเนื้อหาที่เราอยากจะนำเสนอ Influencer คนนั้น จะต้องมีความกระตือรือร้นในการใช้สินค้าจริงๆ เพราะคน Gen Z มองออกว่า Influencer คนไหนถูกจ้างมาแค่โปรโมท แต่ไม่ได้อยากใช้ตัวสินค้าจริง